เช็ก!! ก่อนจ่าย ช่วงเวลาไหนชำระค่างวดได้
ชำระค่างวดผ่านแอปพลิเคชันเมืองไทย แคปปิตอล 4.0 ควรทำช่วงเวลาไหนวันนี้มีคำตอบ ชำระผ่านคิวอาร์โค้ด ชำระผ่านช่องทางอื่น (แอป) คำเตือน
ชำระค่างวดผ่านแอปพลิเคชันเมืองไทย แคปปิตอล 4.0 ควรทำช่วงเวลาไหนวันนี้มีคำตอบ ชำระผ่านคิวอาร์โค้ด ชำระผ่านช่องทางอื่น (แอป) คำเตือน
ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ข้าวของก็แพงขึ้น บางครั้งเราก็เจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจทำให้รายได้หรืออาชีพของเราสั่นคลอนได้ แต่รายจ่ายนี่สิไม่ลดลงตามรายได้เลย ไม่ว่าจะเป็นค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือ ค่าใช้จ่ายจิปาถะ แล้วเราจะเลือกทำอะไรได้บ้างเพื่อให้ได้ทางออกที่ดีที่สุด ปรับพฤติกรรมตัวเอง ห้ามก่อหนี้เพิ่ม ลด ละ เลิก ค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือหารายได้เสริมเพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และสิ่งสุดท้าย ห้ามหนีเด็ดขาด เพราะอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น เจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อขอคำปรึกษา หรือปรับโครงสร้างหนี้ เช่น ลูกค้าเมืองไทย แคปปิตอล หากปฎิบัติตรงตามเงื่อนไขที่บริษัทฯกำหนด และมีความเดือดร้อน ก็สามารถปรับสัญญาได้ แถมยังได้รับเงินมาใช้หมุนเวียนอีกด้วย เราสามารถเลือกทางออกได้ตามความต้องการของเรา อย่างไรก็ตามความจริงแล้วทุกคนก็อาจอยู่ในช่วงที่เกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดกันได้ และถ้าหากเกิดช่วงเวลาแบบนั้น ขอให้มีสติ ค่อยๆหาทางออกอย่างถูกวิธี ก็จะทำให้สามารถเลือกทางเลือกที่ดีสำหรับเราได้นั่นเอง
ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ข้าวของก็พากันขึ้นราคา โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นไม่หยุด ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมราคาน้ำมันเองได้ แต่เราสามารถลดการใช้และทำให้คุ้มค่ายิ่งขึ้นได้ จะมีวิธีอะไรกันบ้างพร้อมแล้วไปกันเลย 1. เติมลมยาง การหมั่นตรวจเช็กสภาพลมยาง สามารถช่วยประหยัดน้ำมันได้ เพราะถ้าลมยางอ่อนเกินไป จะส่งผลให้เกิดการเสียดทานระหว่างตัวยางกับพื้นถนน ทำให้เครื่องยนต์รับภาระในการหมุนล้อเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น เป็นสาเหตุของการเผาผลาญน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกตินั่นเอง แต่ขณะเดียวกัน หากลมยางแข็งเกินไป ก็จะทำให้การยึดเกาะถนนน้อยลง ดังนั้นจึงควรเติมลมยางตามที่คู่มือรถแนะนำ เพื่อความปลอดภัย และทำให้ประหยัดน้ำมัน 2.วางแผนการเดินทางให้ดี เพราะการกำหนดแผนการเดินทาง หรือการคำนวณระยะทางก่อนออกไปไหน เพื่อที่เราจะไม่ขับรถหลงทาง หรือไปผิดเส้นทางจนทำให้รถติด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียน้ำมันโดยเปล่าประโยชน์ 3.ขับรถด้วยความเร็วคงที่ การใช้ความเร็วคงที่ ควรจะอยู่ที่ประมาณ 80 – 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง เนื่องจากช่วงความเร็วนี้ จะทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพในการเผาผลาญเชื้อเพลิงได้ดีที่สุด ร่วมกับการใช้เกียร์ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้รอบเครื่องยนต์สูงเกินไป และควรจะขับโดยรักษาความเร็วให้สม่ำเสมอไปตลอดทั้งเส้นทาง ก็จะสามารถช่วยลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงลดได้ 4.บรรทุกของเท่าที่จำเป็น หากเราบรรทุกสัมภาระหนักขึ้น 45.3 กก. จะไปลดอัตราการประหยัดพลังงาน 1% และเมื่อรถยนต์ต้องบรรทุกน้ำหนักมากขึ้น เครื่องยนต์ก็ต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นวิธีที่จะช่วยประหยัดน้ำมัน และทำให้รถยนต์สามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วปกติ ก็คือการขนสัมภาระเท่าที่จำเป็น และไม่ควรเก็บของไว้ในรถ
ทุกชีวิตล้วนเจอกับความไม่แน่นอน เราไม่มีทางรู้เลยว่าวันข้างหน้าจะมีอะไรเกิดขึ้น จากที่เคยมีการงาน การเงินที่มั่นคง แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ สิ่งที่เคยมี สิ่งที่เคยคิดว่ามั่นคงก็อาจจะหายไปในพริบตา อย่างเช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทุกๆคนต่างได้รับผลกระทบไม่ว่าจะด้านการดำเนินชีวิต หรือการเงินก็ตาม บางคนถูกลดเงินเดือน บางคนโดนเลิกจ้าง ดังนั้น การเตรียมความพร้อมไว้ก่อนย่อมดีกว่าเสมอ จึงขอแนะนำ 4 ข้อควรทำเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอนทางการเงินมาฝากกัน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย 4 ข้อควรปฎิบัติ 1.มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 3 – 6 เท่าของรายจ่ายจำเป็นและภาระผ่อนหนี้ต่อเดือน 2.ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมหรือไม่ 3.พิจารณาเรื่องความไม่แน่นอนของรายได้ในอนาคต ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง 4.อาจหาแหล่งรายได้เสริมหรือนำสินทรัพย์ที่มีไปลงทุนให้งอกเงยขึ้น ความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราสามารถเรียนรู้และวางแผนเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย
มาดูว่าเคล็ดลับอะไรบ้างที่จะพาคุณไปถึงเป้าหมายและก้าวไปสู่ “ความมั่นคงทางการเงิน” ได้เร็วขึ้น อันดับแรก แบ่งเงินเป็นส่วนๆ ดูว่าค่าใช้จ่ายจําเป็นในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง จากนั้นแบ่งรายได้ออกเป็นส่วนๆ ส่วนหนึ่งกันไว้ เพื่อเป็นเงินออม ส่วนหนึ่งกันไว้สําหรับค่าใช้จ่ายเหล่านั้น หากรายรับไม่เพียงพอสําหรับการใช้จ่ายและเก็บออม เห็นทีคงต้องหันหน้าปรึกษากันในครอบครัวเสียแล้วว่าจะลดรายจ่าย หรือมีวิธีเพิ่มรายได้ตรงไหนบ้าง อันดับที่สอง ออมให้ได้เงิน ออมก่อนใช้ นอกจากการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ แล้วการจัดลําดับ ว่าจะทําอะไรก่อนหลังก็มี ความสําคัญมาก หากเราใช้ก่อนออม เรามักมี เงินเหลือออมน้อยกว่าที่ตั้งใจไว้หรืออาจแย่ถึงขั้นไม่เหลือไปออมเลย การออมก่อนใช้ (เมื่อมีรายได้เข้ามาให้ออมทันทีก่อนที่จะไปจับจ่ายใช้สอยใด ๆ) จึงเป็นสิ่งที่ต้องทําให้เป็นนิสัยเพื่อช่วยให้เราสามารถออมเงินได้ตามเป้าหมาย ออมอย่างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ เป็นอัตราส่วนที่เราควรจําให้ขึ้นใจและใช้ทุกครั้งที่มีรายได้เข้ากระเป๋า โดยสามารถแบ่งย่อยว่าออมเพื่ออะไรบ้างตามความจําเป็น และ ความเหมาะสมกับเป้าหมายในชีวิต หรือตามเหตุการณ์ในช่วงนั้นๆ ตั้งเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย
มีหลายคนเข้าใจผิด ว่าป้ายภาษีและพ.ร.บ. เป็นป้ายเดียวกัน ซึ่งจริงๆแล้ว ป้ายทั้ง 2 ไม่เหมือนกัน วันนี้น้องใกล้ชิดจะพาไปไขข้อข้องใจ ถึงความแตกต่าง และประโยชน์ของแต่ละป้ายนั้นใช้ทำอะไรได้บ้าง ไปดูกันเลย ป้ายภาษีคืออะไร? ป้ายภาษี เป็นสิ่งที่ผู้ขับขี่ทุกคนต้องต่อทุกปีตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เพราะถ้าหากไม่ต่อภาษีนานติดต่อกันเกิน 3 ปี จะทำให้ถูกระงับทะเบียนรถได้เลยทันที ผู้ขับขี่อาจจะต้องเสียเวลานำรถไปจดทะเบียนภาษีใหม่อีกครั้ง แล้วจึงจะได้ป้ายภาษีเก่ากลับมา ที่สำคัญเมื่อนำรถไปจดทะเบียนภาษีใหม่อาจถูกเก็บภาษีย้อนหลังอีกด้วย ถ้าหากผู้ขับขี่คนไหนไม่อยากเสียภาษีย้อนหลัง การต่อภาษีตรงต่อเวลาจึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำมากที่สุด ซึ่งในปัจจุบันการต่อภาษีนั้นสามารถทำได้ก่อนหมดอายุไม่เกิน 3 เดือน และจะต้องทำ พ.ร.บ.ให้เสร็จก่อนต่อภาษี เพื่อให้ได้ป้ายภาษีสี่เหลี่ยมมาติดกระจกหน้ารถ เพราะถ้าหากโดนตรวจแล้วพบว่าไม่มีป้ายนี้ผู้ขับขี่จะได้รับโทษปรับ 400-1,000 บาท นั่นเอง พ.ร.บ. คืออะไร? พ.ร.บ. เป็นประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องทำไว้ เพราะถ้าหากตรวจสอบแล้วว่ารถคันไหนไม่มี พ.ร.บ. ตามที่กฎหมายว่าไว้จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. เป็นเอกสารที่สำคัญมากจะต้องเก็บไว้ให้ดี เนื่องจากเป็นเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีอีกด้วย หากรถคันไหนที่ได้ทำ พ.ร.บ.ไว้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาตัว พ.ร.บ.จะให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ […]
หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์” กันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ ว่าคืออะไร แล้วทำไมต้องช่วยกันลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ วันนี้มีคำตอบ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คืออะไร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) หมายถึง ปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งานและการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่านั่นเอง ซึ่งการใช้ชีวิตประจำวัน หรือการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ก็มีผลต่อการปล่อยแก๊สเรือนกระจก ทุกคนจึงมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแก๊สเรือนกระจกได้ เมื่อพูดถึง Carbon Footprint หลายคนอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว เรื่องของระบบอุตสาหกรรมและองค์กรขนาดยักษ์เท่านั้นที่ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ แต่จริงๆ แล้ว คาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นเรื่องของทุกคน เราสามารถปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน เพื่อช่วยลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ได้ด้วยตัวเอง ดังนี้ 1.ลดใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย บอกลาบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ใช้ทุกอย่างให้คุ้มค่า ลดการซื้อของใหม่ ไม่ปล่อยของเหลือ 2.ลดการใช้พลังงาน ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ เลิกเปิดน้ำทิ้งไว้ เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์5 ตรวจเช็กสภาพรถยนต์สม่ำเสมอ 3.กินอย่างมีสติ งดการกินทิ้งกินขว้าง เศษอาหารนั้นมีส่วนในการทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจก เพราะอาหารที่ถูกทิ้งจะย่อยสลายและเกิดเป็นแก๊สมีเทน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกด้วย 4.เลือกซื้อ เลือกใช้ ของที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดสารเคมี ถ้าเป็นออร์แกนิกก็จะยิ่งดีกับสุขภาพของเราและโลกด้วย 5.สนับสนุนการรีไซเคิล […]
” หนี้ “ เป็นคำง่ายๆ ที่แก้ยาก และไม่มีใครที่อยากเป็น แต่ก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้คนหลงเข้าไปอยู่ในวงจรของหนี้ ไม่ว่าจะเป็นมีเรื่องให้ต้องใช้เงินฉุกเฉิน เงินไม่พอใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต้องลงทุนค้าขาย หมุนเงินไปจ่ายหนี้เดิม แล้วยิ่งหนักไปกว่านั้นคือการไปกู้เงินนอกระบบ แต่สุดท้ายแล้วหลายคนก็พบว่า หนี้นอกระบบไม่ได้เป็นตัวช่วยอย่างที่คิดแต่กลับถูกดอกเบี้ยสร้างภาระอันหนักอึ้งให้แทน ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถหลุดออกจากวงจรหนี้ได้แต่สำหรับคนที่หลวมไปแล้ว และอยากจะปลดหนี้ เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ 3 วิธีช่วยปลดหนี้นอกระบบ มีดังนี้ 1.งดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น หากการเป็นหนี้ของเราเกิดจากการใช้เงินที่มากเกินไป หรือช็อตเนื่องจากไม่มีเงินเก็บ การลดรายจ่ายคือเรื่องสำคัญที่ต้องทำทันที เพื่อให้มีเงินเหลือพอใช้หนี้ และเหลือเก็บไว้ในอนาคต จะได้ไม่ต้องก่อหนี้เพิ่มไม่รู้จบ เคล็ดลับช่วยบริหารค่าใช้จ่ายที่ทุกคนทำได้ ก็คือการทำบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ว่าเงินของเราหมดไปกับอะไร และมีรูรั่วในการเก็บเงินอย่างไรบ้าง 2.หาคนกลางช่วยประนอมหนี้ ติดต่อสำนักคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน (สคช.) สำนักงานอัยการสูงสุด สายด่วน 1157 โดยคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัด จะเป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ระหว่าง ลูกหนี้กับเจ้าหนี้นอกระบบให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้ง 2 ฝ่าย 3.หาแหล่งเงินกู้ในระบบ การกู้เงินปิดหนี้จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับคนที่มีภาระหนี้สิน โดยเฉพาะการเลือกเงินก้อนปิดหนี้จากสินเชื่อสถาบันที่วางใจได้ ถือเป็นทางรอดสำหรับคนที่เป็นหนี้นอกระบบในปัจจุบัน คนที่อยากมีเงินใช้หนี้ หลายคนอาจรู้สึกไม่มั่นใจที่จะกู้เงินปิดหนี้นอกระบบจากสถาบันการเงิน เพราะกลัวจะไม่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากมีฐานเงินเดือนไม่สูง หรือขาดคนค้ำประกัน แต่ตอนนี้ปัญหาดังกล่าวจะหมดไป ด้วย […]
ปัญหาที่หลายคนมักจะเจอเมื่อเปลี่ยนเบอร์มือถือใหม่ หรือแก้ไขข้อมูลส่วนตัว คือ ไม่สามารถเข้าทำรายการผ่านแอปได้ OTP ส่งไม่เข้า หรือ OTPส่งเข้าเบอร์เดิม บ้างแหละ แต่ไม่รู้จะทำยังไงดี วันนี้น้องใกล้ชิดมีคำตอบ สามารถแก้ไขได้ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้ 1.ช่องทางสาขาของบริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) ขั้นตอนแนวปฏิบัติ1.ยื่นแบบฟอร์มคำขอและเอกสารประกอบ2.ยื่นเอกสารให้พนักงานสาขาและแจ้งรหัส OTP ยืนยันเบอร์โทรศัพท์3.รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล4.รอผลการแก้ไขผ่าน sms ภายใน 1 วันทำการ หลังจากนั้นเข้าทำรายการผ่านแอปพลิเคชันได้เลย 📣 หมายเหตุ : กรุณายื่นเรื่องเปลี่ยนเบอร์ในวันและเวลาทำการเท่านั้น 2. ช่องทางเว็บฟอร์ม ขั้นตอนแนวปฏิบัติ1.คลิกเพื่อกรอก แบบฟอร์ม และแนบเอกสารประกอบ2.รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล3.รอผลการแก้ไขผ่าน sms ภายใน 1 วันทำการ หลังจากนั้นเข้าทำรายการผ่านแอปพลิเคชันได้เลย ขั้นตอนหลังจากได้รับ SMS– กรณีไม่เคยสมัครสมาชิก กดเข้าทำรายการสมัครสมาชิกได้เลย– กรณีเคยสมัครแอปพลิเคชันแล้ว ให้ทำรายการลืมรหัสผ่านแล้วตั้งใหม่เพื่อเข้าสู่ระบบ หากมีข้อสงสัยประการอื่นเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 1455 หรือ Email : [email protected]
วันนี้น้องใกล้ชิด จะพาทุกคนไปรู้จักกับโฉนดที่ดินแต่ละประเภท ว่ามีอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งที่ดินแต่ละประเภทนั้นเป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป บางชนิดสามารถซื้อ ขาย โอน จดจำนองได้ตามปกติ แต่บางชนิดไม่สามารถซื้อ ขาย โอน ได้ ยกเว้นตกเป็นมรดกให้ทายาทลูกหลานเท่านั้น และโฉนดแบบไหนที่สามารถขอสินเชื่อได้ ประเภทของโฉนดที่ดิน โฉนดที่ดินในประเทศไทยมีหลายประเภท ทั้งที่สามารถซื้อขายได้ และซื้อขายไม่ได้ มีทั้งแบบโอนกรรมสิทธิ์ได้ และเป็นเพียงหนังสือแสดงสิทธิ์การทำกิน หรือทำประโยชน์ในที่นั้นซึ่งไม่ใช่กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น โดยสามารถแบ่งเอกสารสิทธิ์ได้ โฉนดที่ดินทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้ 1.โฉนดที่ดิน นส.4 (ครุฑแดง) นส.4เป็นโฉนดที่ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินกับเจ้าของอย่างแท้จริง มีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน มีหมุดแสดงพื้นที่ชัดเจน ให้กรรมสิทธิ์เจ้าของสามารถทำอะไรบนที่ดินผืนนั้นของตัวเองได้ตามกฎหมายอย่างสมบูรณ์ สามารถซื้อ ขาย โอน จดจำนองได้ 2.โฉนดที่ดิน นส.3ก (ครุฑเขียว) นส.3ก เป็นเอกสารที่แสดงสิทธิการครอบครอง เพื่อทำประโยชน์ในพื้นที่ดินนั้น ๆ ได้ ซึ่งจะมีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจนเหมือนกับโฉนด แต่จะแตกต่างกันที่เงื่อนไขผู้ครอบครองจะต้องทำให้ที่ดินนั้นเกิดประโยชน์ขึ้น ต่างจากโฉนด (นส.4) ตรงที่โฉนดสามารถปล่อยทิ้งว่างได้ แต่อย่างไรก็ตาม นส.3ก สามารถซื้อ ขาย […]
ทำไม? บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จึงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง บริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่องค์กรระดับโลก โดยกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยง ที่สอดคล้องกับแนวทางและหลักปฏิบัติสากล ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และสร้างผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างมั่นคงในระยะยาว บริษัทฯ จึงจำแนกประเภทความเสี่ยงไว้ทั้งหมด 9 ด้าน กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง มี 6 ขั้นตอน 1. การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Event Identification and Analysis) เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เป็นขั้นตอนในการทำความเข้าใจกับสาเหตุของการเกิดความเสี่ยง ระบุถึงเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสียหายและการไม่บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร 2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) พิจารณาการจัดการความเสี่ยง/การควบคุมที่มี และการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงที่เหลืออยู่ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง 3. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response กำหนดแผนการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจเลือกใช้วิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจใช้หลายวิธีรวมกัน เพื่อลดระดับโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบของเหตุการณ์เพื่อให้อยู่ในช่วงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Tolerance) 4. กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง (Control […]
สำหรับใครที่กำลังยื่นกู้สินเชื่อไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด เพื่อนำเงินก้อนไปใช้ในยามฉุกเฉิน แต่ยังไม่เข้าใจ ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยคงที่ และดอกเบี้ยลดต้นลดดอก ว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไร เราควรจะเลือกแบบไหนจึงจะเหมาะกับเราที่สุด วันนี้มีคำตอบ ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยแบบคงที่กับดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก ดอกเบี้ยเงินกู้ที่เรารู้จักกันดี มี 2 ประเภท คือ กับดอกเบี้ยแบบคงที่ (Fixed Rate) กับ ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ซึ่งดอกเบี้ยแบบคงที่กับดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกมีความแตกต่างกันดังนี้ ดอกเบี้ยแบบคงที่ คืออะไร? ดอกเบี้ยแบบคงที่ คือ อัตราดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้กำหนดไว้ตายตัว โดยจะไม่มีการปรับตลอดการทำสัญญา โดยคำนวณจากจำนวนเงินต้นที่ขอสินเชื่อ และนำมาหารกับจำนวนงวดที่ต้องจ่ายในอัตราการคิดดอกเบี้ยที่เท่ากันในแต่ละครั้งของการชำระหนี้ จนกว่าผู้ขอสินเชื่อจะจ่ายครบตามสัญญากู้ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ ข้อดี 1. อัตราดอกเบี้ยคงที่ สามารถวางแผนการใช้เงินได้ง่ายขึ้น 2. เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะผ่อนจ่ายไปเรื่อย ๆ ไม่รีบปิดยอด ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คืออะไร? ดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก คือ ดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินต้นที่ผู้ขอสินเชื่อได้ชำระในแต่ละงวด โดยดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อย ๆ ตามเงินต้นที่ลดลง เนื่องจากถูกหักออกไปจากการชำระหนี้งวดก่อนหน้า ข้อดี 1. อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนเงินต้นที่ผู้ขอสินเชื่อได้ชำระในแต่ละงวด โดย ดอกเบี้ยจะลดลงเรื่อย […]