3 ขั้นตอนไม่ตกเป็นเหยื่อแก๊งหลอกลวงเงินกู้


  1. เช็คข้อมูลพิสูจน์ตัวตนผู้ให้กู้ว่าเป็นผู้ให้บริการจริงหรือไม่

โดยสามารถเช็ครายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุญาตให้ประกอบกิจการอย่างเป็นทางการได้ที่เว็บไซต์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งรวบรวมรายชื่อบริษัทฯ ที่ให้บริการด้านสินเชื่อไว้ครบถ้วน อาทิ รายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อที่เป็นแบงก์และนอนแบงก์, รายชื่อผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และรายชื่อผู้ให้บริการระบบ Peer to Peer Lending Platform ซึ่งมีรวมกันกว่า 200 ราย

แต่อย่างเพิ่งเชื่อทันที เพราะมิจฉาชีพก็จะใช้วิธีลอกเลียนแบบโลโก้ ไปเปิดเว็บไซต์ หรือห้องแชตต่างๆ เพื่อล่อลวงเช่นกัน ดังนั้นเพื่อความชัวร์ ควรติดต่อผู้ให้บริการนั้น ๆ ผ่านช่องทางที่เป็นทางการเช่นในแอปฯ หรือฝ่าย Callcenter จากเว็บไซต์ทางการของผู้ให้บริการเงินกู้ สินเชื่อ โดยตรง

2. มีสติอ่านเงื่อนไขให้ครบถ้วนอย่ารีบตัดสินใจสมัครทันที

หากรู้สึกมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากล เช่นการให้โอนเงินก่อนเป็นค่าธรรมเนียมในการขอกู้เงินหรือค่าดอกเบี้ยก่อนได้รับเงินต้น หรือการเสนอดอกเบี้ยที่แพงเกินกฎหมายกำหนด ไปจนถึงการขอเอกสารข้อมูลส่วนตัวที่มากมายเกินความจำเป็น ต้องตั้งสติและอย่ารีบตัดสินใจ เพราะเหยื่อหลายคนหลงโอน แต่เมื่อรู้ว่าไม่ได้เงินต้นสักบาทก็สายไปแล้ว แถมตามตัวไม่ได้ เพราะมิจฉาชีพมักให้คนอื่นเปิดบัญชีมาให้อีกทอดหนึ่ง

3. หากรู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อรีบแจ้งทันทีอย่ารอจนโจรลอยนวล

หากตกเป็นเหยื่อแก๊งกู้เงิน ให้รีบติดต่อหรือปรึกษากับผู้ให้บริการหรือบริษัทฯ ต้นทางเพื่อสอบถามทันที และหากรู้ตัวว่าถูกหลอก ให้รีบแจ้งความกับตำรวจท้องที่ หรือร้องศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) ทันที อย่าปล่อยไว้

Muangthai Capital Public Company Limited
🚫 ไม่มีนโยบาย ทำสัญญาหรือขอสินเชื่อ ผ่านทางออนไลน์
🚫 ไม่มีตัวแทนหรือพนักงาน ในการรับเรื่องทำสัญญาทางออนไลน์
🚫 ไม่มีนโยบาย ให้ลูกค้าส่งข้อมูลส่วนตัวใด ๆ เพื่อกรอกข้อมูลทำสัญญา
🚫 ไม่มีนโยบาย ให้ลูกค้าโอนเงินล่วงหน้าค่าค้ำประกัน ค่าเอกสาร หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด ๆ เพื่อทำสัญญา

ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย / https://www.it24hrs.com/2021/fake-loan-warning/