เกิดอุบัติเหตุจากรถ พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?


คำว่า “พ.ร.บ.” คงเป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยินหรือรู้จักกันมาบ้าง แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่เข้าใจว่า “พ.ร.บ.” มีความสำคัญอย่างไรทำไมต้องต่อทุกปี และ คุ้มครองอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะไปทุกคนไปรู้จักกับ พ.ร.บ. ให้มากขึ้น

พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่ง พ.ร.บ. รถยนต์/รถจักรยานยนต์ ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่รถประสบอุบัติเหตุจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต โดยจะได้รับเป็นเงินชดเชยต่างๆ สามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ด้วยเหตุนี้คนที่มีรถและพ.ร.บ. กับประกันภัยเอาไว้จึงควรศึกษาเพิ่มเติมให้ทราบว่า เมื่อเกิดเหตุรถชน สามารถเบิกค่าชดเชยอะไรได้บ้าง

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. รถยนต์/รถจักรยานยนต์นับเป็นประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันต้องทำเอาไว้ ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนและต้องเบิกค่าชดเชย สามารถเบิกค่าชดเชยจาก พ.ร.บ. ก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งค่าชดเชยของ พ.ร.บ. รถยนต์/รถจักยานยนต์นั้นจะคุ้มครองเฉพาะคน สามารถเบิกค่าชดเชยได้ด้วยกรณีดังนี้

  • ความเสียหายต่อร่างกายและอนามัย
  • ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน
  • สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร
  • เสียชีวิต

สำหรับค่าเสียหายเบื้องต้น จะได้รับทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิด ดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล พ.ร.บ. จะจ่ายให้ตามจริง โดยจ่ายให้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท
  • ในกรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวรทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายให้ไม่เกิน 35,000 บาทต่อคน
  • ในกรณีที่เกิดการเสียชีวิต หากเสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายค่าทำศพเป็นจำนวน 35,000 (หากเกิดความเสียหายหลายกรณีรวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน)

 สำหรับค่าเสียหายส่วนเกินที่สามารถเบิกได้จาก พ.ร.บ. รถยนต์ / รถจักรยานยนต์ จะมีการจ่ายชดเชยให้หลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันของฝ่ายที่กระทำผิดจะชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัยหรือทายาท ดังนี้

  • ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลกรณีได้รับบาดเจ็บ จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท
  • ในกรณีสูญเสียอวัยวะ /ทุพพลภาพถาวร จะมีการจ่ายชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 200,000 – 500,000 บาท เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
  • กรณีเสียชีวิต จะมีการจ่ายเงินชดเชยรวมกับค่ารักษาพยาบาล (ในกรณีเสียชีวิตภายหลัง) สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
  • นอกจากนี้จะมีการจ่ายเงินชดเชยเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) โดยจ่ายชดเชยให้วันละ 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน

เอกสารที่ใช้ในการเบิกค่าชดเชย

เอกสารในการเบิกค่าชดเชยต่างๆ นั้นอาจใช้แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้วเอกสารจำเป็นเมื่อต้องการเบิกค่าชดเชยจากกรณีอุบัติเหตุรถชนนั้น มีดังนี้

  1. แบบฟอร์มการเรียกร้องสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยที่คุณทำประกันเอาไว้
  2. ใบเสร็จรับเงินฉบับจริง และสำเนา ไม่ว่าจะเป็นจากสถานพยาบาล หรืออู่ซ่อมรถ แจ้งรายการค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดและมีลายเซ็นรับรอง
  3. สำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ (กรณีอุบัติเหตุ) ซึ่งต้องมีการรับรองสำเนาจากตำรวจ
  4. ใบรับรองแพทย์ที่ระบุวันที่นอนโรงพยาบาล อาการ บริเวณที่บาดเจ็บ และสาเหตุ (ในกรณีที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ)
  5. บัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัยและผู้รับผลประโยชน์ พร้อมสำเนา
  6. ทะเบียนบ้านต้นฉบับของผู้เอาประกันภัย และผู้รับผลประโยชน์
  7. สำเนาทะเบียนรถ (กรณีอุบัติเหตุ)
  8. สำเนาหน้าสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร
  9. เอกสารอื่นๆ เช่น สำเนารายงานการชันสูตรพลิกศพ ภาพถ่ายอุบัติเหตุ สำเนาสูติบัตร สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อนามสกุล (แล้วแต่กรณี)

ดังนั้นการมี พ.ร.บ ไว้อุ่นใจกว่าแน่นอน สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย ชดเชยค่ารักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ เมื่อเกิดเหตุทันที ใครยังไม่ได้ทำ หรือ หมดอายุ อย่าลืมต่อกันนะ

สำหรับคนที่ต้องการทำพ.ร.บ.ต่อภาษี เมืองไทย แคปปิตอล มีบริการจำหน่าย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถเพื่อการเกษตร พร้อมรับต่อภาษี ที่จะอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ช่วยประหยัดเวลาการเดินทาง You can process your application at a branch near you. Find a branch here.