1. ใช้ผ้าแทนกระดาษทิชชู
เพื่อเป็นการลดจำนวนขยะที่เพิ่มขึ้นจากทรัพยากรสิ้นเปลือง
2. ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก
ช่วยทั้งด้านการลดขยะและลดโลกร้อน เพราะถุงผ้าเป็นทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง
3. แยกขยะให้ถูกประเภทก่อนทิ้ง และทิ้งให้ลงถังเสมอ
ข้อดีคือ ช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัดน้อยลง และสามารถนำขยะสดจำพวกเปลือกผลไม้มาแปรรูปเป็นปุ๋ยให้แก่ต้นไม้ได้อีกด้วย
4. ช่วยกันปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ปัจจุบันนี้ต้นไม้ถูกตัดถอนไปจำนวนมาก ทำให้ปริมาณพื้นที่สีเขียวบนโลกลดน้อยลง การปลูกต้นไม้จึงช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มีใช้กันอย่างเพียงพอกับทุกชีวิต
5. ทานอาหารให้หมดจาน
ขยะจากอาหารถูกทิ้งให้เป็นขยะรอวันเน่าเสีย กลายเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศถึง 8% ในประเทศไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64% ของขยะทั้งหมด ยิ่งเรากินอาหารเหลือเยอะ การสร้างก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจะมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว การปรับพฤติกรรมเล็กๆ ที่สร้างได้ด้วยตัวเองที่บ้านก็มีส่วนช่วยลดโลกร้อนได้แล้ว
6. ไม่เปิดน้ำและไฟทิ้งไว้
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับทุกคนทั้งในครัวเรือน หรือในระดับองค์กร ช่วยประหยัดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการใช้เท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า และกำจัดการใช้ที่ไม่จำเป็นหรือมีแนวโน้มที่จะสูญเปล่า
7. ไม่เผาขยะและเศษไม้เศษหญ้า
เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และการเกิดสารพิษที่เรียกว่าไดออกซินในปริมาณที่เป็นอันตราย สารไดออกซินเป็นสารเคมีที่มีพิษสูง เมื่อหลุดสู่บรรยากาศจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะจะปล่อยสารไดออกซิน และมลพิษต่าง ๆ ในระดับที่ไม่สูงจากพื้นดิน ทำให้ผู้คนสูดดมเข้าสู่ร่างกายและตกค้างอยู่บนพืชผลเกษตรกร หรือในแหล่งน้ำได้
8. ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า
เนื่องจากป่าไม้เป็นแหล่งการหมุนเวียนของสารระหว่างออกซิเจน, คาร์บอนไดออกไซด์, น้ำและสารอื่นๆในระบบนิเวศที่สำคัญ การทำลายป่าจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น จนเกิดภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
9. รักษารถยนต์ด้วยการเปลี่ยนไส้กรอง
เพื่อช่วยลดปัญหาการเกิดควันดำเนื่องจากไส้กรองอากาศที่สกปรกจะทำให้การไหลของอากาศที่สะอาดทำได้น้อยลง มีผลต่อการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ด้วย
10. ไม่ทิ้งของเสียลงแม่น้ำ
เป็นการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ให้ถูกทำลายจากความมักง่ายของผู้คน รวมไปถึงการช่วยควบคุมและป้องกันของเสียให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด