การบริหารจัดการ “ความเสี่ยง”


ทำไม? บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จึงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง
         บริษัท เมืองไทยแคปปิตอล จำกัด (มหาชน) มีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่องค์กรระดับโลก โดยกำหนดยุทธศาสตร์การบริหารความเสี่ยง ที่สอดคล้องกับแนวทางและหลักปฏิบัติสากล ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และสร้างผลตอบแทนให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนอย่างมั่นคงในระยะยาว

บริษัทฯ จึงจำแนกประเภทความเสี่ยงไว้ทั้งหมด 9 ด้าน

  • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk)
  • ความเสี่ยงด้านปฏิบัติ (Operational Risk)
  • ความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Healthy Risk)
  • ความเสี่ยงด้านนโยบาย/ข้อบังคับ/กฎหมาย
  • ความเสี่ยงด้านการเงิน
  • ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม
  • ความเสี่ยงด้านชุมชน
  • ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์และชื่อเสียง
  • ความเสี่ยงอุบัติใหม่

กระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง มี 6 ขั้นตอน


1. การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Event Identification and Analysis)

         เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เป็นขั้นตอนในการทำความเข้าใจกับสาเหตุของการเกิดความเสี่ยง ระบุถึงเหตุการณ์หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเสียหายและการไม่บรรลุถึงเป้าหมายขององค์กร

2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)

         พิจารณาการจัดการความเสี่ยง/การควบคุมที่มี และการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงที่เหลืออยู่ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง

3. การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response

         กำหนดแผนการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจเลือกใช้วิธีการจัดการความเสี่ยงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจใช้หลายวิธีรวมกัน เพื่อลดระดับโอกาสที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบของเหตุการณ์เพื่อให้อยู่ในช่วงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Tolerance)

4. กิจกรรมควบคุมความเสี่ยง (Control Activities)

         เมื่อมีการเลือกวิธีการตอบสนองความเสี่ยงที่เหมาะสมแล้ว กิจกรรมการควบคุมความเสี่ยงจะถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ในการปฏิบัติงานทุกด้านนั้นต้องจัดให้มีกิจกรรมการควบคุมที่เหมาะสมเพียงพอกับ ประเภทของการควบคุม

5. ข้อมูลและการสื่อสาร(Information and Communication)
        
ระบบสารสนเทศและการสื่อสารจะเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการถ่ายทอดนโยบายการกำกับดูแลและติดตามผลสำเร็จของการดำเนินงาน องค์กรจึงต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

6. การประเมินและติดตามผล (Motoring and Review)

         คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุมติดตามผล และหารือประเด็นเรื่องความเสี่ยง เป็นจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้มีการประชุมติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และได้เล็งเห็นว่าบริษัทฯ ได้มีการแก้ไขปัญหาความเสี่ยงที่สำคัญในด้านต่าง ๆ จนลดระดับลงไปสู่เกณฑ์ที่ธุรกิจยอมรับได้ เพื่อความรุนแรงของลดผลกระทบที่อาจส่งผลให้ผลประกอบการหรือเป้าหมายของธุรกิจ จึงได้เสนอแนะให้มีการทบทวนประเด็นความเสี่ยง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น